"อาชาบำบัด" กระตุ้นพัฒนาการทางด้านร่างกาย ปัญญา และอารมณ์ของเด็กพิเศษด้วยการขี่ม้า!!

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

"ลูกมีความกล้าที่จะทำ ไม่กลัว มีสมาธิมากขึ้น" คำพูดจากครอบครัวของเด็กพิเศษ 

"เป็นกิจกรรมที่ดี อยากให้จัดกิจกรรมขึ้นอีก" คำพูดคุณครูจากศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต 6 ถ้อยคำเหล่านี้เป็นเสียงการตอบรับจากกิจกรรมอาชาบำบัดครั้งก่อน ซึ่งศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต 6 มี "เด็กพิเศษ" ที่ประสบปัญหาเรื่องสมาธิสั้น ควบคุมร่างกายและอารมณ์ไม่ค่อยได้ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการเข้าสังคม แต่ใช่ว่าพวกเขาจะเรียนรู้ไม่ได้เลย วัลลภาฟาร์มร่วมกับศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต 6

Showlist data is not configured

ทางเน้นการฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพโดยวิธีอาชาบำบัดร่วมกับเด็ก จำนวน 20 คน และพบว่าเด็กพิเศษมีสมาธิมากขึ้น มีความกล้า รู้จักการออกคำสั่งกับม้า อาชาบำบัดเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับกันไปทั่วโลก ในต่างประเทศมีการนำ "ม้า" มาเป็นตัวช่วยในการบำบัดให้เด็กพิเศษมีพัฒนาการดีขึ้นมาหลายร้อยปี การขี่ม้าและการทำกิจกรรมต่างๆ บนหลังม้า เนื่องจากม้าเป็นสัตว์ที่มีจังหวะการเดินคล้ายกับคน ทำให้เมื่อเด็กนั่งอยู่บนหลังม้าก็เหมือนฝึกเดินด้วยตัวเอง และการทำกิจกรรมบนหลังม้ายังช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย นอกจากนั้นม้าเป็นสัตว์ที่ฉลาด สามารถสื่อสารรับรู้ความรู้สึกของผู้ขี่ได้ เด็กๆ จึงได้ฝึกเรื่องการควบคุมอารมณ์ไปในตัว ครูเต้ ศราวุธ ค้าขาย ครูสอนขี่ม้า เจ้าของฟาร์มม้าเล็กๆ ในลพบุรี เห็นข้อดีของการใช้ม้าบำบัด จึงทำโครงการอาชาบำบัดขึ้นมาอีกครั้งและอยากจะทำแบบต่อเนื่องกับกลุ่มเด็กพิเศษ ดังนี้ขั้นแรกจะให้เด็กทำความคุ้นเคยกับม้าก่อน ด้วยการให้เข้าไปหาม้าใกล้ๆ เรียกชื่อม้า สัมผัสม้า ให้อาหารม้า ขั้นต่อมาจะให้เด็กขึ้นไปนั่งบนหลังม้า สอนวิธีการนั่งที่ถูกต้อง ซึ่งเด็กจะต้องมีสมาธิ สนใจฟัง เด็กจะได้ฝึกการควบคุมตัวเอง เพราะโดยสัญชาตญาณแล้วทุกคนจะกลัวตกม้า ก็เลยต้องควบคุมร่างกายให้ทรงตัวนั่งได้อย่างปลอดภัย จากนั้นสมองจะเริ่มสั่งการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อต่างๆ ทั้งมัดเล็กมัดใหญ่ทำงาน ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ เมื่อม้าเดินเคลื่อนที่เด็กจะเริ่มตื่นตัว มีสมาธิ จัดระเบียบร่างกายตนเองให้สมดุล ทำให้ทรงตัวได้ดีขึ้น และเมื่อฝึกไปเรื่อยๆ ก็จะมีสมาธิยาวขึ้นด้วย ส่วนเด็กที่มีปัญหาด้านการพูดก็จะถูกกระตุ้นจากการที่ต้องออกคำสั่งกับม้า โดยทุกขั้นตอนในการบำบัดจะมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลอย่างใกล้ชิด แม้ว่าการบำบัดด้วยม้าจะไม่ได้ทำให้หายจากการเป็นเด็กพิเศษ แต่ก็ช่วยให้สามารถปรับสภาพร่างกายให้สมดุล ลดความก้าวร้าว มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจดีขึ้น รู้จักการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และกล้าพบปะผู้คนมากขึ้น ส่งผลให้เด็กพิเศษสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ดีขึ้นด้วย ด้วย