บทบาทหน้าที่ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดปราจีนบุรี

๑.จัดและส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาในลักษณะศูนย์บริการช่วยเหลือระยะเริ่ม (Early Intervention: EI)และเตรียมความพร้อมของคนพิการเพื่อเข้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนเรียนร่วม โรงเรียนเฉพาะความพิการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นต้น

๒.พัฒนาและฝึกอบรมผู้ดูแลเด็กพิการบุคลากรที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ

๓.จัดระบบและส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program: IEP)

๔.จัดระบบบริการช่วยเชื่อมต่อสำหรับคนพิการ ( Transitional Services  )

๕.ให้บริการพื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยครอบครัวและชุมชนด้วยกระบวนการศึกษา

๖.เป็นศูนย์รวมข้อมูลรวมทั้งจัดระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาสำหรับคนพิการ

๗.จัดระบบสนับสนุนการจัดการเรียนร่วมและประสานงานการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในจังหวัด

๘.ภาระหน้าที่อื่นตามกฎหมายกำหนดหรือตามที่ได้รับมอบหมาย


 

ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดปราจีนบุรีมีการจัดการศึกษาโดยยึดแนวทางการพัฒนาดังนี้

ด้านที่ ๑ มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน

พัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยการฟื้นฟูสมรรถภาพ จัดทำวิจัยในชั้นเรียนพัฒนาการใช้ IEP , IIP , IFSP  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข

ด้านที่  ๒  มาตรฐานด้านครู

1.   ส่งเสริมให้บุคลากรได้รับทักษะ ความรู้ โดยการจัดอบรมหรือศึกษาดูงานมีความเข้าใจปรัชญาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการและสามารถประยุกต์ใช้ได้

2.   ส่งเสริมให้บุคลากร มีความเมตตาและอดทนต่อการเอาใจใส่ดูแลผู้เรียน รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลและรับรู้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผู้เรียน

3.   ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลและแผนการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัวตามข้อกำหนดของการจัดทำแผนและมีการทบทวนแผนเป็นระยะ

4.   ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแผนโดยใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อการเรียนรู้ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาได้ตรงตามความต้องการจำเป็นของผู้เรียน

5.   ส่งเสริมให้ครูใช้เครื่องมือและวิธีการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างหลากหลาย และสรุปรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนเพื่อเข้าสู่ระบบช่วงเชื่อมต่อ

6.   ส่งเสริมและให้ความรู้ในการวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบและใช้ผลในการปรับการสอน

7.   ส่งเสริมทำงานร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรภาครัฐและเอกชน

ด้านที่  ๓  มาตรฐานด้านผู้บริหาร

1.   พัฒนาความรู้ ความสามารถ และการศึกษาในการเป็นผู้นำ โดยการนำวิธีการใหม่ๆมาเป็นหลักในการบริหารและปรับปรุงการดำเนินงาน

2.   ส่งเสริมระบบบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ

3.   ส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพครู บุคลากร ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง

4.   ส่งเสริมให้มีการประสานงานภาคีเครือข่าย ให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการ

5.   ส่งเสริม กำกับ ติดตาม นิเทศ จัดการศึกษาและแผนปฏิบัติการ    

 


ด้านที่  ๔  มาตรฐานด้านการศึกษา

1.   ส่งเสริมให้มีหลักสูตรหรือแนวทางการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มที่สอดคล้องกับประเภทความพิการ

2.   ส่งเสริมให้มีการจัดหรือปรับสภาพแวดล้อมให้ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุขโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม

3.   ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างหลากหลาย

4.   ส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อการเรียนรู้ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาอย่างเพียงพอ

5.   ส่งเสริมการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยครอบครัวและชุมชน

6.   ให้ความรู้จัดระบบและส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลในโรงเรียนเรียนร่วม

7.   ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและประสานงานการจัดการศึกษา

ด้านที่  ๕  มาตรฐานด้านสังคมแห่งการเรียนรู้

1.   ส่งเสริมให้บุคลากรและผู้เรียนใช้แหล่งเรียนรู้ในศูนย์การศึกษาพิเศษ

2.   ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในศูนย์ฯ กับครอบครัว ชุมชนและภาคีเครือข่าย

3.   ส่งเสริมให้มีการเข้าร่วมรับผิดชอบและช่วยเหลือคนพิการภายในท้องถิ่น

ด้านที่  ๖  มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพ

1.   กำหนดมาตรฐานการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษครบทุกมาตรฐาน

2.   จัดทำและดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา

3.   จัดระบบข้อมูลสารสนเทศและใช้สารสนเทศ

4.   ส่งเสริมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษา

5.   ส่งเสริมการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไปใช้วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

 

6.   จัดทำรายงานประจำปีเป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายในและเผยแพร่ต่อสาธาณชน